Last updated: 11 ม.ค. 2565 | 5164 จำนวนผู้เข้าชม |
ป้ายโฆษณา > ภาษีป้าย ต้องจ่ายยังไง ?
ป้ายโฆษณา ติดตั้งเพื่อการโฆษณาเพื่อดึงดูด ผู้พบเห็น ให้เข้ามาหา ซื้อของๆเรา
หนีไม่พ้นที่เราต้องเสียค่าโฆษณาแน่นอนครับ . . .มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
อัตราค่าภาษีป้าย แบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะและขนาดของป้ายตามนี้
ป้ายประเภทที่ 1 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร [ จัดว่าอยู่ในการเสียภาษีป้ายที่ต่ำที่สุด ]
ป้ายประเภทที่ 2 หมายถึง ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
ป้ายประเภทที่ 3 หมายถึง (ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย หรือ (ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตรเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้วถ้ามีอัตราต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียค่าภาษีป้ายละ 200 บาท
ป้ายประเภทที่ 4 หมายถึง ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายบางส่วนในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว อันเป็นเหตุให้ต้องเสียภาษีป้ายเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
ป้ายทุกประเภทเมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
แล้วคราวนี้ถ้ามีพวกหัวหมอจะไม่จ่ายภาษีป้ายล่ะ จะโดนอะไรกันบ้าง คนที่หลีกเลี่ยงไม่ชำระภาษี กฎหมายก็ได้กำหนดโทษบุคคลจำพวกนี้ ตามลำดับความผิดดังต่อไปนี้
1. ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ยื่นแบบภายในกำหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 10 ของค่าภาษี
2. ผู้เป็นเจ้าของป้ายรายใดไม่ชำระเงินค่าภาษีภายในกำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 2 ของค่าภาษี
3. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานประกอบการค้า หรือประกอบกิจการ
ครับก็จะเป็นความรู้เกี่ยวกับภาษีป้ายให้เข้าใจ กระชับนะครับ ใครที่มีป้ายโฆษณา
ในจุดต่างๆก็อย่าลืมสิ่งเหล่านี้ไว้เพื่อชำระภาษี นะครับ ยังไงซะก็ถือว่าเราได้เสียค่าโฆษณา
การตลาดออฟไลน์ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายได้เห็น จดจำ และเดินเข้ามาหา ซื้อ
สินค้าของเรา
ป้ายแบบไหน “ไม่ต้องเสียภาษี”
ทั้งนี้ อาจเห็นได้ว่า ภาษีป้ายที่ผู้เป็นเจ้าของป้ายต้องเสียนั้น ยังมีอีกหลายสถานที่และหลายลักษณะที่ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่ต้องเสียภาษี โดยกฎกระทรวงได้มีข้อยกเว้นไม่เก็บภาษีป้ายที่ติดตามพื้นที่ต่างๆ สำหรับป้ายที่มีเข้าข่าย ดังนี้
1). ป้ายที่ติดในอาคาร
2). ป้ายที่มีล้อเลื่อน (ต้องมีการเลื่อนป้ายเข้าออก)
3). ป้ายตามงานอีเวนท์ที่จัดเป็นครั้งคราว
4). ป้ายของทางราชการ
5). ป้ายของโรงเรียนทั้งรัฐและเอกชน
6). ป้ายวัด สมาคม มูลนิธิ
7). ป้ายที่ติดหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์
8). ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจากข้อ 7) โดยมีพื้นที่ไม่เกิน 500 ตร.ซม.
ถ้าหากหลีกเลี่ยงภาษีป้าย จะต้องเสียภาษีป้ายเพิ่ม จากที่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งอัตราค่าปรับมีดังนี้
- ไม่ยื่นแบบภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 10% ของค่าภาษี
- ไม่ชำระเงินค่าภาษี หลังจากที่ยื่นแบบภายใน 15 วัน จะต้องเสียค่าปรับ 2% ของค่าภาษี
- ถ้ายื่นภาษีไม่ตรงตามความเป็นจริง จะต้องเสียค่าภาษีที่ขาดไป และเสียค่าปรับอีก 10% ของค่าภาษี
ดังนั้น หากกิจการ ร้านค้า หรือใครก็ตามที่ต้องการติดป้ายไว้เพื่อโปรโมท โฆษณาร้านตนเอง โดยที่อาจจะยังไม่ทราบว่าต้องเสียภาษีป้าย หรือป้ายแบบไหนต้องเสียภาษีอย่างไร และเสียภาษีป้ายเท่าไร ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษีป้ายให้ดี เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางแผนในการจัดทำป้ายให้ถูกต้อง และประหยัดภาษี รวมถึงไม่ให้ถูกเสียค่าปรับภาษีป้ายย้อนหลังแบบไม่ทันตั้งตัวอีกด้วย
23 ธ.ค. 2564
16 ธ.ค. 2564
25 ม.ค. 2565
19 ม.ค. 2565